Interviews with ethnic minority craftswomen

Women e-nspire Culture Project
Interviews with ethnic minority craftswomen and community stakeholders
21-22 May 2019, Chiang Mai, Thailand

UNESCO provides technical assistance to Members States through its mandate that focuses on education, science and communications. For the newly initiated “Women e-nspire Culture” project in 2019 in partnership with CCDKM, UNESCO merged the expertise of its ICT in Education and Culture teams to empower ethnic minority crafts-women to safeguard their intangible cultural heritage through the development of digital and entrepreneurship skills.

ยูเนสโก (UNESCO) ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ประเทศสมาชิกโดยมุ่งเน้นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และการสื่อสาร สำหรับโครงการ“ Women e-nspire Culture” ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ในปี 2562 โดยความร่วมมือกับ CCDKM โดยที่ยูเนสโกได้บูรณาการ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ ICT การศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับงานฝีมือของชนกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดกันมาด้วยกระบวนการการพัฒนาด้วย ICT และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

การดำเนินโครงการในครั้งแรก จะเป็นการคัดเลือกกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะจากข้อมูลของ ITU เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้ความสำคัญกับเข้าสู่ระบบดิจิทัลร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลอย่างเท่าเทียมกัน” ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ของการดำเนินงาน Digital Economy คือการมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้กรอบนโยบาย Smart Thailand 2020 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ ICT เข้าถึงได้ทั่วประเทศ กลุ่มชาติพันธุ์: กะเหรี่ยง อาข่า และม้งของจังหวัดเชียงใหม่ได้รับการระบุว่าเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการทำหัตถกรรมและการค้าขายซึ่งควรต้องได้รับการอนุรักษ์และปกป้องดูแล

จึงมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาตลอดจนความท้าทายต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จะเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อการออกแบบ การหนุนเสริมที่เหมาะสมกับบริบทและประโยชน์ ที่กลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวพึงจะได้รับจากผลที่จะได้จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม  ก็จะนำไปสู่การออกแบบ Hackathon ที่สตรี เยาวสตรีชาติพันธุ์ที่เป็นเจ้าของหัตถกรรมจะเป็นตัวหลักของการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการใช้ ICT เพื่อการแก้ปัญหา เพื่อสร้างรายได้และสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ หลังจากการจัดกิจกรรม Hackathon แล้ว ก็จะมีกิจกรรมการสร้างเสริมความสามารถอื่น ๆ อีกอย่างต่อเนื่องที่เน้นการออกแบบกิจกรรมที่คำนึงถึงความต้องการและการมีโอกาสในการส่งเสียงของผู้หญิงชาติพันธ์อย่างต่อเนื่อง

 

English EN Thai TH